ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๓ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนกันยายน  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                       สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบในห้วงสถานการณ์โควิด ๑๙ (Covid-Bag) จำนวน ๙ พื้นที่ในเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว จำนวน ๖๒๕ ชุด ที่แพร่ระบาดทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้วที่เป็นพื้นที่สีแดง เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในการยังชีพในพื้นที่เป้าหมายให้ได้รับการดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะการระบาดโรคโควิด ๑๙ นอกจากนี้สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการยังดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในห้วงสถานการณ์โควิด๑๙ (Covid Box) จำนวน ๙ พื้นที่ ในเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว จำนวน ๑๓๕ ชุด เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ในพื้นที่เป้าหมายให้ได้รับการดูแลและบรรเทาอาการป่วยจากโรคโควิด ๑๙ และให้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด ๑๙ การรักษาตัวในช่วงระยะเวลา ๑๔ วัน ของการกักตัว และการปฏิบัติตนหลังจากหายป่วยจากโรคโควิด ๑๙ โดยมี รศ.นฤมล ธนานันต์ และ ผศ.ปิยะ สงวนสิน รองอธิการบดี นำทีมอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่มอบ Covid Box ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อเป็นกำลังเสริมด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้ป่วยที่แยกกักตัวอยู่ที่บ้าน และได้มอบถุงยังชีพ Covid Bag ช่วยเหลือประชาชน 
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) (University System Integration : USI)
                         สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๙ ตำบล จากทั้งหมด ๑๖ ตำบล และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑๘ ตำบล (ทุกตำบลที่มีการดำเนินงาน) โดยมีการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยือนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม
 
                    ๓. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                                                
                    ๔. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
                            
                     ๕โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                                                                           
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๖. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        
                    ๘. โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    ๙โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๑๐. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๑. โครงการ VRU Mindset
 
                    ๑๒. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................